การดื้อยาปฏิชีวนะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตประมาณ 38,000 รายในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2553[1] การซื้อยาปฏิชีวนะโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์และการใช้ยาปฏิชีวนะไม่สมเหตุผลพบได้ในวงการแพทย์และในประชาชนทั่วไปในประเทศไทย[1] เพียง 10% ของผู้ป่วยไข้หวัดเท่านั้นที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ในประเทศไทยยาปฏิชีวนะมักใช้ในผู้ป่วยไข้หวัดโดยแพทย์ตามโรงพยาบาล หมอในคลินิก และเภสัชกรร้านยา ซึ่งมักเกิดร่วมกับการเรียกร้องขอยาของผู้ป่วยเอง การใช้ยาปฏิชีวนะไม่สมเหตุผลเป็นอันตรายไม่ใช่แค่สุขภาพของผู้ป่วยเท่านั้นแต่ยังกระทบถึงสุขภาพโดยรวมของทุกคนในประเทศ
ประเทศไทยเปิดตัวโครงการ "การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล" (Antibiotic Smart Use: ASU) เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล[1] โรคที่เป็นเป้าหมายหลักประกอบไปด้วย (1) หวัด (2) ท้องเสีย และ (3) แผลสะอาด เพราะคนส่วนใหญ่ที่มีภาวะเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
โครงการ "การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (ASU)" นี้ประกอบด้วยสามระยะ ระยะแรกคือการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการเพื่อปรับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนทั่วไปและของบุคลาการทางการแพทย์ ระยะที่สองคือการตรวจสอบความเป็นไปได้เพื่อขยายโครงการ และระยะที่สามคือการมุ่งเน้นเพื่อการขยายผลสู่ความยั่งยืนของแนวปฏิบัติเรื่องไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในโรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้[2]
การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล” นี้ยังมีการรณรงค์ในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านเชื้อดื้อยาและด้านยาปฏิชีวนะเช่น โครงการ ควรใช้ยาปฏิชีวนะอย่างระมัดระวัง และ สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย
รูปที่ 1: สัญลักษณ์โครงการ ฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะ
สามารถดูวีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล" ได้ที่
Antibiotics Smart Use (ผลิตโดย rationaluse1 วันที่ 01/17/2553)
เอกสารอ้างอิง
1 Sumpradit N., Chongtrakul P., Anuwong K., et al (2012). “Antibiotic Smart Use: a workable model for promoting the rational use of medicine in Thailand”. Bulletin of the World Health Organization. 90 (12): 905-913. doi: 10.2471/BLT.12.105445
2 “Antibiotics Smart Use in Thailand”. reactgroup.org.